แม้ว่าในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาปีนี้ คนไทยเราไม่ได้มีเทศกาลสงกรานต์เหมือนที่เคยมีมา เพราะ COVID-19 แต่วันที่ 14 เมษายน ปี ค.ศ. 1912 สำหรับเรือไททานิกแล้ว มันเรียกว่าเป็นคืนแห่งฝันร้ายเลยทีเดียวครับ . และผมก็คิดว่าทุกท่านคงเคยได้ยินเรื่องเล่า หรือได้ดูหนังเรื่อง Titanics ที่เคยออกฉายในปี 1997 คำถามในวันนี้คือ … ทำไมมันถึงเป็น 1 ใน โศกนาฏกรรม ครั้งยิ่งใหญ่ เอาใหม่นะครับ คำถามไม่ได้สนใจว่าทำไม เรือล่ม คำถามคือ "ทำไมคนถึงได้เสียชีวิตเป็นพันๆคน" . ผมขอเล่าเพิ่มเติมครับ . Titanic นั้นจริง ๆ แล้วเดิมที มันออกแบบมาให้สามารถมี Lifeboat (เรือชูชีพ) ได้ทั้งหมด "64" ลำ ซึ่งสามารถบรรจุได้ทั้งหมด "3,500" คน โดยที่จริงๆแล้ว คนที่ล่องเรือ Titanic ในวันนั้น มีเพียง "2,200" คน งั้นก็ควรจะเพียงพอหรือเปล่า? . ใช่ครับ พอแน่ๆ ถ้าไม่เกิดการแก้ไขแบบเพื่อเพิ่มความสวยงามก่อนออกเดินเรือ โดยคนออกแบบมองว่า การไม่มี Lifeboat นั้นทำให้เรือดูดี และ หรูหรา และในวันที่ออกเรือ เรือ Titanics ก็มี LifeBoat อยู่เพียง 20 ลำ หรือคิดเป็น "1 ใน 3" จากที่ได้ออกแบบไว้ และผมก็ได้บอกไปแล้วว่า ในการเดินเรือครั้งนั้น มีผู้โดยสารทั้งหมด 2,200 คน . คําถาม!!! คิดว่ามีคนรอดชีวิตกี่คน… คำตอบก็คือ 700 คน หรือประมาณ "1 ใน 3"! ของผู้โดยสารทั้งหมดเท่านั้น… . ผมคงไม่จำเป็นต้องกลับไปตอบคำถามเดิมแล้วนะครับ ว่าทำไมมันถึงเป็น 1 ใน โศกนาฏกรรม ครั้งยิ่งใหญ่ และถ้าใครถามผมว่า มันไม่ผิดกฎหมายหรือ? ถูกต้องแล้วครับ มันไม่ผิดครับ แต่แค่มันผิดจริยธรรมเท่านั้นครับ เพราะกฎหมายในยุคนั้น ระบุไว้ว่า ขอแค่มี LifeBoat ไม่ต่ำกว่า 25% ของ Capacity ของเรือ . และนั้นคือสิ่งที่เราทำกันใน ธุรกิจรูปแบบ ปัจจุบัน . เราอยากโต จ้างคนมาเยอะๆ แล้วก็ไล่คนออก โดยทั้งหมดไม่ได้มาจาก Vision ของบริษัท แต่มาจากการพยายาม Hit Arbitrary Financial Projection ที่ Assumption มาจากไหนก็ไม่แน่ใจ . ไม่ว่าจะเรื่อง Covid-19 หรือปัจจัยอื่นๆ พอบริษัทไม่ได้ยอด และต้องการรักษาระดับของกำไร สิ่งที่ทำก็คือ แก้ไข Organization Chart ขององค์กร โดยการ LayOff ก็ได้เป็น Concept ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน . ทั้งหมดนี้ มันเริ่มมาจากปี 1976 ที่คุณมิลตัน ฟรีดแมน ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคุณฟรีดแมนนี้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ในแบบทุนนิยม ได้กล่าวว่าการทำธุรกิจต้องคำนึงถึง "การสร้างกำไรให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้" แค่ไม่ทำผิดกฎหมายเท่านั้น ทำให้ในช่วงปี 1980 เป็นต้นมา การ Lay-off พนักงานอย่างมหาศาล เพื่อแต่งเลขกำไรในบัญชีให้บริษัทแม้ว่าจะไม่ขาดทุน นั่นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกบริษัทนั้นทำกัน แม้ว่าก่อนปี 1970 นั้นการ Lay-off พนักงาน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณอย่างมากในวงการธุรกิจ . ต่อมาเรื่องราวของคุณมิลตัน ฟรีดแมน ที่ได้สร้างฐานองค์ความรู้ใหม่ให้วงการธุรกิจ ก็ยิ่งทำให้ชนชั้นกลางเป็นต้นไป เช่นพนักงานประจำนั้น มีชีวิตที่ยากลำบากขึ้น . และในตอนนี้ Covid-19 ก็ได้เริ่มระบาดจากจีนไปทั่วโลก . หนี้ที่ไม่ได้หายไปไหน แต่งานที่หายไปอย่างมหาศาลเพราะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมทวีความรุนแรงมากขึ้น . รัฐบาลได้ประกาศ ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพิ่มไปอีก 1 เดือนเป็น สิ้นพฤษภาคมแล้ว เศรษฐกิจก็ซบเซาไปอีก 1 เดือน แต่คำถามที่น่าคิดมากกว่าคือ หลังวันที่ 1 มิถุนายน ยอดขายของ Retailer จะกลับมาจริงหรือ? ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ไม่ได้ออกไปไหนนาน 2 เดือนจนได้สร้างนิสัยใหม่ ทั้งเศรษฐกิจที่กำลังเข้าภาวะซบเซา ดอกเบี้ยก็ลดลงมานานแล้ว หรือ Vaccine ที่ยังผลิตไม่สำเร็จ รวมไปถึงรายได้ด้านการท่องเที่ยวที่หายไปอย่างมหาศาล . แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ “แบงก์ชาติ” ยังบอกเลยว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบเครื่องหมายถูก ไม่ใช่ "V sharp" และอาจต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ . บางทีระบบทุนนิยมที่เราใช้กันในปัจจุบันอาจจะยังไม่ใช่คำตอบ แต่อาจจะเป็น “ระบบสามัคคีนิยม” อย่างไรเสีย นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นครับ . เหมือน Titanic ที่แค่เพิ่งชนภูเขาน้ำแข็ง ยังมีเวลาเป็นชั่วโมงในการหนีออกจากตัวเรือ ใครได้ Lifeboat ก่อน ก็รอด เพราะ Lifeboat ตอนนี้มีจำกัดจริง ๆ ขอให้ทุกคนโชคดี และฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ