สงครามเวียดนาม สอนธุรกิจ แล้วมุมมองธุรกิจของคุณจะเปลี่ยนไป เดือนเมษายนเราก็คงนึกถึงวันหยุดยาวกับเทศกาลสงกรานต์ แม้วันสงกรานต์ปีนี้ คนไทยเราไม่ได้มีเทศกาลสงกรานต์เหมือนที่เคยมีมา เพราะ COVID-19 . แต่สำหรับ ประเทศเวียดนามแล้ว ในวันที่ 30 เมษายน ปี ค.ศ. 1975 เป็นวันที่กรุงไซ่ง่อนแตก แต่เรียกได้ว่า เป็นวันที่สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง หลังจากที่มีการขัดแข้งระหว่างเวียดนามเหนือ และ เวียดนามใต้ จนเกิดเป็นสงครามนานเกินกว่า 20ปี ผมไม่ได้จะลงลึก ในรายละเอียดของสงครามนี้นะครับ . เราต่างรู้ผลลัพท์ว่า สงครามครั้งนี้เป็นสงครามที่ สหรัฐอเมริกา “แพ้” แต่มันมีเรื่องที่น่าประหลาดใจอยู่ . คำถามคือ เห็นผมบอกว่า สงครามครั้งนี้ ฝั่งเวียดนามเสียชีวิต ไปเกือบ “3 ล้านคน” แล้ว คุณคิดว่า ทหารสหรัฐ เสียชีวิตทั้งหมด กี่นาย . . . คำตอบคือ 5 หมึ่น 8 พัน นาย!! . มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่เมื่อทราบตัวเลข ผู้เสียชีวิตแล้ว ก็งงว่า ทำไม สหรัฐถึงแพ้ . Simon Sinek ได้อธิบาย ปรากฏการณ์เรื่องนี้ได้ดี . สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Simon Sinek เค้าคือ ผู้เขียนหนังสือ “Start with Why” และยังเป็น 1 ใน Speaker ของ TedTalk โดยเป็น Top VDO ที่ผู้ชมมีมากที่สุด เค้าได้เขียนหนังสือ เล่มล่าสุดของเค้าชื่อว่า “the infinite game” โดยบอกว่า จาก Game Theory เราสามารถแบ่ง ชนิดของ Games ได้เป็น 2 แบบ นั้นคือ 1) Finite Games และ 2) Infinite Games . Finite Games คือ เกมส์ ที่มีผู้เล่นคงที่ มีกฎตายตัว มีเวลาจำกัด มีกรรมการ และ มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ฟุตบอล คือตัวอย่างที่ดีครับ เป้าหมายก็ชัดเจนคือการทำประตูอีกฝ่ายให้ได้ ซึ่งมีเวลาจำกัด กรรมการเป่านกหวีดคือหมดเวลา แล้วมานับคะแนน ใครได้คะแนนมากกว่าก็ชนะ . ส่วน Infinite Games นั้นไม่ใช่ . Infinite Games คือ เกมส์ที่ ไม่มีผู้เล่นตายตัว จะเพิ่มหรือจะลดตอนไหนก็ได้ ไม่มีกฎการเล่นอะไรที่ตายตัว ไม่มีเวลาจำกัด ไม่มีกรรมการ หรือตัวชี้วัดของแต่ละผู้เล่นก็ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างของ Infinite Games ที่ดีเลยคือ สงครามเย็น สู้กันโดยใช้การเมือง เล่นกันไปเรื่อย ๆ โดยประเด็นหลักจะไม่ได้สนใจว่าใคร แพ้หรือชนะ แต่ถ้าต้องการจะเล่นต่อคือ “ต้องรอด” หรือก็คือมีทรัพยากรมากพอที่จะเล่นต่อ เท่านั้น . และนี้คือความแตกต่างระหว่าง สหรัฐ กับ เวียดนาม เพราะ สหรัฐบุกเวียดนาม ด้วยวิธีคิดแบบ Finite Games แต่ เวียดนาม(เหนือ) สู้สงครามด้วยวิธีคิดแบบ Infinite Games และเมื่อเราเจาะลึกลงรายละเอียดดู เราจะพบว่า สหรัฐ นั้นชนะแทบจะทุก สมรภูมิรบ (battles) ทั้งหมดที่สู้ แต่ไม่ว่า สหรัฐ จะชนะกี่ สมรภูมิรบ ด้วยวิธีคิดแบบ Infinite Games ของเวียดนาม ที่เค้าต้องการสู้เพื่อ "ความอยู่รอด" เค้าจึงไม่สามารถยอมแพ้ได้ แม้ว่า เค้าจะสูญเสียไปมากมายแล้วก็ตาม จนสุดท้าย สหรัฐ ก็แพ้สงคราม เพราะการตัดสินใจยกเลิก และถอนกองทัพในเวียดนาม โดย President Richard Nixon . แล้วเรื่องนี้ สอนเรื่องมุมมองธุรกิจ อย่างไร . คำถามที่สำคัญเลยคือ ถ้าอิงจาก Game Theory แล้วเราควรคิดว่า ธุรกิจ เป็น Finite Games หรือ Infinite Games ? . อย่าง Kodak ที่อยู่ยาวนานกว่า 141 ปี ปัจจุบันยังคิดว่า Kodak เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จหรือเปล่า? . ความเห็นส่วนตัว ผมมองว่า การทำธุรกิจ จัดอยู่ใน Infinite Games ทั้งการที่เรากำหนดจำนวนผู้เล่นไม่ได้ ไม่มีกฏตายตัว บริษัทที่ขาดทุนอย่าง Shopee ก็มีมูลค่าเยอะกว่า บริษัทที่กำไรมากมาย . แต่ในเมื่อเรามองว่า การทำธุรกิจ จัดอยู่ใน Infinite Games Vision ที่มีต่อ ธุรกิจ ก็ควรจะเป็นแบบ Infinite Games ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น Vision ที่บอกว่า . เราจะเป็นที่ 1 ของ Industry เราจะโต 10 เท่า เราจะ Leader ของ Industry . ทั้งหมดนี้ เป็นประโยคที่แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารมองว่า ธุรกิจเป็น Finite Games เช่น การจะเป็นที่ 1 หรือจะ โต 10 เท่าแล้วKPI นั้น ก็คงมองจาก ยอดขาย กับ กำไร หรืออย่าง การเป็น Leader ของ Industry เองก็เช่นกัน การเป็น Leader ต้องมี Follower, เหมือน พ่อหรือแม่ ที่ต้องมีลูก แล้วใครคือ Follower ที่ยอมรับว่า คุณเป็น Leader? . พอ Covid19 ระบาด ก็เริ่มถกปัญหากัน และมองว่า บริษัทเรา “ต้องรอด” ซึ่งเป็น วิธีคิดแบบ Infinite Games . อย่าปล่อยให้ มันเป็นหน้าที่ของ Covid19 เลยครับ . เหมือนสงครามเวียดนาม วันนี้เราควรมาถามตัวเองมากกว่าว่า ธุรกิจ มีอยู่เพื่ออะไร เพื่อ ยอดขาย และ กำไร เท่านั้นจริง ๆ หรอ? หรือเพื่อเป็นจุดยืนทางความคิด ที่สื่อออกมาผ่านทาง สินค้า และ บริการ . บางทีระบบทุนนิยมที่เราใช้กันในปัจจุบันอาจจะยังไม่ใช่คำตอบ แต่อาจจะเป็น “ระบบสามัคคีนิยม” . ขอให้ทุกคนโชคดี และฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ